บทความ

การบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ (Remuneration)

การบริหารค่าตอบแทนและหลักการกำหนดค่าตอบแทน ค่าตอบแทนมีความสำคัญในการจูงใจและรักษาบุคคลให้ทำงานกับองค์กร ได้แก่ ค่าจ้าง เงินเดือน โบนัส ค่านายหน้า สวัสดิการ ที่อยู่อาศัย ค่ารักษาพยาบาล วันหยุดวันลา ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เงินเดือน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าตอบแทน ภายนอก 1. ระดับค่าตอบแทนทั่วไป ( Conditions of the Labor Market) 2. ลักษณะและคุณค่าของงาน (Worth of Job) 3. มาตรฐานค่าครองชีพ (Cost of Living) 4. อิทธิพลของภาครัฐตามกฎหมาย (Legal Requirements) ภายใน 1. ปรัชญาและนโยบายการบริหารองค์กร (Organizational Policy) 2. ความสามารถในการจ่ายค่าตอบแทน (Ability to Pay) 3. ผลการปฏิบัติงาน (Performance) 4. ระดับอาวุโส (Seniority) เป็นระยะเวลาที่บุคคลปฏิบัติงานในองค์กร เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความจงรักภักดี ความมีพันธสัญญาทางใจต่อองค์กร 5. ประสบการณ์ (Experience) หลักการกำหนดค่าตอบแทน 1. หลักความพอเพียง (Adequacy) ค่าตอบแทนที่ได้รับต้องเท่ากันหรือสูงกว่าระดับต่ำสุดที่บุคคลพึงได้รับตามมาตรฐานการครองชีพของแต่ละสังคม หรือองค์กรจะต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับบุคคลตามอ

การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal)

ความหมาย วัตถุประสงค์ และความสำคัญของการประเมินผลการปฏิบัติงาน ทำงานตรงกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย การแสดงพฤติกรรม แสดงผลลัพธ์ ดำเนินงานส่งมอบตามที่องค์การต้องการมากน้อยเพียงใด ต้องเพิ่มพูน เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง พัฒนาอย่างไร   เอาข้อมูลมาเปรียบเทียบว่าคนไหนทำงานดีที่สุด เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจขึ้นเงินเดือน จ่ายค่าตอบแทน โบนัสให้ใครมากกว่ากัน วัตถุประสงค์การประเมินผลการปฏิบัติงาน 1. ด้านการพัฒนา 1.1 เป็นข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อให้บุคลากรทราบว่าที่ผ่านการปฏิบัติงานของตนเองเป็นอย่างไร 1.2 ระบุจุดแข็ง จุดอ่อน จุดที่ควรปรับปรุงพัฒนาสำหรับบุคลากรแต่ละคน 1.3 สร้างแรงจูงใจและได้รางวัลตอบแทนแก่บุคลากรที่มีผลงานได้มาตรฐานหรือสูงกว่ามาตรฐาน 1.4 ช่วยในการตัดสินใจในการสนับสนุนบุคลารกที่มีผลงานได้มาตรฐานหรือสูงกว่าให้มีความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ 1.5 เป็นข้อมูลที่ช่วยระบุความต้องการฝึกอบรมและพัฒนา ช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมและพัฒนาดังกล่าวให้สอดคล้องกับความต้องการและยุทธศาสตร์ของงองค์กร 1.6 เป็นการสื่อสารให้บุคลากรได้ทราบถึงความรู้ความสามารถของตนเองในสายตาของผู้บังคับบัญ

การฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Training and Development)

         ความหมายของการฝึกอบรมและพัฒนา การฝึกอบรมและพัฒนา หมายถึง กรรมวิธีในการเพิ่มพูนสมรรถนะในการทำงานของบุคลารกทั้งในด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความชำนาญ และพฤติกรรม รวมถึงการส่งเสริมให้บุคลากรมีอุปนิสัย เจตคติ สำนึกรับผิดชอบและมีขวัญ กำลังใจที่ดีต่อการทำงาน อันจะส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ความหมายของการฝึกอบรม หมายถึง การเพิ่มพูนความรู้ระยะสั้น เพื่อให้ทำงานเป็น ทำงานให้ดี ทำงานให้ดีขึ้น ความจำเป็นของการฝึกอบรม บุคลากรต้องพัฒนาตนเองควบคู่ไปกับการพัฒนาองค์กร ดังนี้           1. ไม่สถาบันการศึกษาใดๆ ที่สามารถผลิตคนให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถพร้อมที่จะทำงานในองค์กรต่างๆ   ได้ทันที องค์กรที่รับบุคลากรใหม่จึงต้องทำการขัดเกลา ปรับพื้นฐานหรือฝึกอบรมก่อนเริ่มการทำงาน           2. สภาพแวดล้อมต่าง ๆมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น เศรษฐกิจ สังคม ความรู้ การแข่งขัน นโยบายและยุทธศาสตร์ขององค์กร ฯลฯ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้องค์กรต้องหาทางทำให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถเรียนรู้ ปรับตัวและลงมือทำงานในสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อได้รับการฝึกอบรมและ

การสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรบุคคล (Recruitment and Selection)

กระบวนการและวิธีสรรหาทรัพยากรบุคคล             1. การสรรหาจากภายในองค์กร   เป็นการสรรหาบุคคลที่ผู้สมัครจากภายในองค์กรของตนเพื่อบรรจุหรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ว่างอยู่ หรือที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น ลาออก โยกย้าย แทนการประกาศรับบุคคลจากภายนอก โดยจะประกาศรับบุคคลที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ภายในองค์กรที่มีสมรรถนะหรือคุณสมบัติครบตามที่กำหนด ให้มาสอบแข่งขัน ทดสอบ หรือเข้ารับการคัดเลือกเพื่อโยกย้าย หมุนเวียน หรือเลื่อนตำแหน่งตามวาระและความต้องกรในขณะนั้น   มีวิธีการดังนี้ 1) การปิดประกาศตำแหน่งที่ว่าง 2) การรับสมัครแข่งขันเพื่อบรรจุ 3) การแนะนำจากบุคลากรภายในองค์กร   4) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคล ข้อดี 1. ทำให้บุคลากรเห็นความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ และมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 2. สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน สามารถสร้างพันธสัญญาทางใจต่อองค์กรและความพึงพอใจในงานได้เพิ่มขึ้น 3. รักษาบุคลารกให้ทำงานกับองค์กรในระยะยาว 4. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสรรหาน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการสรรหาจากภายนอกและประหยัดเวลามากกว่า 5. บุคลากรที่ผ่านการสรรหาและคัดเลือก

การวางแผนทรัพยากรบุคคล

ความหมายและความสำคัญของการวางแผนทรัพยากรบุคคล ( Human Resource Planning) คือการมองว่าองค์กรมีความจำเป็น ต้องการกำลังคนมากน้อยเพียงใด มีคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถอย่างใด เป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารงานบุคคล ซึ่งมักจะได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่อไปนี้           1. ปัจจัยภายนอกองค์กร เป็นปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ และยากที่จะทำการคาดการณ์ประเมินความเป็นไปได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ที่สำคัญได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎหมาย เทคโนโลยี การแข่งขัน           2. ปัจจัยภายในองค์กร เป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น แผนกลยุทธ์ งบประมาณ การลดหรือขยายขนาดขององค์กร การพยากรณ์ยอดขายและปริมาณการผลิต คุณภาพของบุคลากรที่อยู่ภายในองค์กร           3. ปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงอัตรากำลัง อันเนื่องจากการลาออก เลิกจ้าง สิ้นสุดสัญญาจ้าง เกษียณอายุ ดังนั้น การบริหารงานที่ดีต้องดูข้อมูลล่วงหน้าว่าจะเพิ่มคนตอนไหน อย่างไร แบบไหนให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด ที่มา : https://www.mycourseville.com/?q=onlinecourse/theatre/8307/ucGtPh1gLKXaQWK81           การวิเคราะห์ง