บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2008

การศึกษาการมีส่วนร่วมของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

ชื่อเรื่อง การศึกษาการมีส่วนร่วมของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ชื่อผู้วิจัย ณัฐภัสสร แดงมณี ปีที่วิจัย 2551 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปะทิว จำนวน 9 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประเภทเลือกตอบ และแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการบริหารทั่วไปมีระดับการมีส่วนร่วมสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารวิชาการ และด้านการบ

การศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

ชื่อเรื่อง การศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ชื่อผู้วิจัย ณัฐภัสสร แดงมณี ปีที่วิจัย 2551 บทคัดย่อ การศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาขั้นพื้นฐานของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551จำนวน 695 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักศึกษาขั้นพื้นฐาน ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ สูตรของ Taro Yamane แล้วทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น(Stratified Random Sampling) โดยสุ่มจากนักศึกษาทั้ง 3 ระดับ ได้ ระดับประถมศึกษา จำนวน 9 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 10