บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2015

รายงานผลการประเมินโครงการเสริมสร้างความรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะ

ผู้ศึกษา                  สถาบัน กศน.ภาคใต้  ปีที่ศึกษา                2558 ใน การประเมินโครงการเสริมสร้างความรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการดำเนินโครงการเสริมสร้างความรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิตของโครงการเสริมสร้างความรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะโดยใช้รูปแบบการประเมินเชิงระบบ Context-Input-Process-Product-Impact : CIPPI Model  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอและครูผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้นำสถาบันศึกษาปอเนาะ นักศึกษาสถาบันศึกษาปอเนาะ ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดสตูล และ จังหวัดสงขลา (อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี)  จำนวน 5,392   คน  ผู้วิจัยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณขนาดตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินโครงการด้าน

การประเมินหลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคใต้

ผู้วิจัย                     ศุภาภรณ์ กาญจโนภาส, ณัฐภัสสร  แดงมณี, พัชรี ไชยโรจน์                                 รจนา วิริยะสมบัติ , จารุณี วาระหัส , พนัสยา วรรณวิไล ปีที่ประเมิน            2558 การประเมินหลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อ   1) ประเมินหลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคใต้ ด้านปัจจัยเบื้องต้น  ด้านกระบวนการ  และด้านผลผลิต 2) ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคใต้ของผู้เรียน ประชากรได้แก่ วิทยากรที่สอนในหลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ และ ผู้เรียนซึ่งเป็นผู้สูงอายุกลุ่มทดลองใช้หลักสูตร รวมทั้งสิ้น  34  คน   เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า                 1. การประเมินหลักสูตร การศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอา

การศึกษารูปแบบการดำเนินงาน กศน.ตำบลที่มีประสิทธิภาพในภาคใต้

ผู้วิจัย                     สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคใต้                                   (นางสาวณัฐภัสสร แดงมณีและคณะ) ปีที่วิจัย                   2558 การศึกษารูปแบบการดำเนินงาน กศน.ตำบลที่มีประสิทธิภาพในภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อ   1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานของ กศน.ตำบลในภาคใต้ 2) ศึกษารูปแบบการดำเนินงาน กศน.ตำบลที่มีประสิทธิภาพในภาคใต้ 3) ยืนยันรูปแบบการดำเนินงาน กศน.ตำบลที่มีประสิทธิภาพในภาคใต้   โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ศึกษาสภาพการดำเนินงานของ กศน.ตำบลในภาคใต้ ศึกษารูปแบบการดำเนินงาน กศน.ตำบลที่มีประสิทธิภาพในภาคใต้ และ ยืนยันรูปแบบการดำเนินงาน กศน.ตำบลที่มีประสิทธิภาพในภาคใต้เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม (Focus Group ) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการศึกษาพบว่า                 1. สภาพการดำเนินงาน กศน.ตำบลในภาคใต้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  โดยประสานงานกับภาคีเครือข่าย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  รองลงมาไ