โครงงาน


การทำโครงงาน (Project)




โครงงานเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่นำไปสู่การศึกษาค้นคว้าทดลองและลงมือปฏิบัติ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เพิ่มองค์ความรู้ในหมวดวิชานั้นๆ ตามความสนใจและความต้องการที่จะศึกษาและทำ โครงงานอาจทำในลักษณะโครงงานประเภท รวบรวม ประดิษฐ์ หรือทดลองก็ได้ (ในระดับนักศึกษา กศน.)
ความสำคัญของโครงงาน

1. เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องทำ อย่างน้อย 1 โครงงาน
2. เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีวุฒิภาวะ มีความรับผิดชอบในการทำงานและได้ทำงานในสิ่งที่ตนเองสนใจ และสามารถนำสิ่งที่ทำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที
3. เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดกระบวนการ คิด ® ทำ ®จำ ® แก้ปัญหา ®พัฒนา
4. เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีอิสระในการคิดริเริ่มทำโครงงานตามความต้องการและความสนใจของตนเอง
การทำโครงงานทำอย่างไร

ผู้เรียนต้องทำโครงงานที่เลือกให้สอดคล้องกับวิชาที่เรียน โดยการรวมกลุ่มสมาชิก 1-5 คน/1โครงงาน
- ร่วมกันคิดวิเคราะห์เลือกโครงงาน
- เสนอเค้าโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา
- วางแผนปฏิบัติ
- ปฏิบัติและนำเสนอความก้าวหน้าของโครงงานเป็นระยะ
- จัดทำรายงานโครงงาน
- นำเสนอโครงงานเป็น 3 ส่วน คือ ผลงาน / รายงานโครงงาน / นิทรรศการโครงงาน


การเขียน รายงานโครงงาน รูปเล่มต้องประกอบด้วย


ส่วนประกอบของโครงงาน


รูปแบบของการเสนอโครงงาน มี 3 ส่วนคือ
1. ส่วนประกอบต้น เป็นส่วนประกอบแรกของการเสนอรายงานโครงงาน ประกอบด้วยส่วนสำคัญคือ
1.1 ปกนอก คือส่วนที่มีชื่อโครงงาน ชื่อคณะผู้จัดทำและวิชาที่ศึกษา
1.2 ปกใน (เหมือนปกนอก แต่เป็นกระดาษธรรมดา)
1.3 หัวข้อนำโครงงาน และบทคัดย่อ เป็นบทสรุปของผลการศึกษาโครงงานนั้นๆ
1.4 คำนำ คือ เหตุผลและที่มาของการทำโครงงาน
1.5 กิตติกรรมประกาศ เป็นการแสดงความขอบคุณผู้ที่ให้คำแนะนำและให้ความรู้ด้านต่างๆ
1.6 สารบัญ เป็นการบอกถึงเนื้อหาข้างในว่าอยู่หน้าใดของรายงาน
1.7 สารบัญตาราง (ถ้ามี) เป็นการบอกว่าตารางนั้นอยู่หน้าใดของรายงาน
1.8 สารบัญภาพประกอบ (ถ้ามี) เป็นการบอกว่าภาพนั้นอยู่หน้าใดของรายงาน
2. ส่วนที่เป็นรายงานหรือเนื้อหา จะนำเสนอตั้งแต่เริ่มทำหรือศึกษาโครงงานค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล เพื่อให้ง่ายต่อการเสนอ ควรเขียนเป็นบทๆ ดังนี้
2.1 บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ ดังนี้
2.1.1 ที่มาของโครงงาน (เหตุใดจึงทำโครงงานนี้ ไม่ใช้คำว่าเพราะ ให้กล่าวกว้างๆ)
2.1.2 ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ในการศึกษาโครงงาน (จะทำอะไรบ้าง)
2.1.3 สมมุติฐานของการศึกษาโครงงาน (คำตอบชั่วคราวของปัญหาที่ยังไม่ได้ศึกษา)
2.1.4 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
- ตัวแปรต้น (สิ่งที่เราสงสัย อยากรู้ สิ่งที่เป็นเหตุของปัญหา)
- ตัวแปรตาม (สิ่งที่ติดตามดู, หรือสิ่งที่เป็นผล)
- ตัวแปรควบคุม (สิ่งที่ต้องควบคุมไว้ให้คงที่ มิฉะนั้นจะมีผลต่อตัวแปรตาม)
2.1.5 ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า (กรอบของการทำงาน, สถานที่ทำโครงงาน, ระยะเวลาที่ดำเนินงาน กลุ่มบุคคล ฯลฯ โดยกำหนดเป็นข้อๆ)
2.1.6 ระบุคุณค่าหรือความสำคัญของการศึกษาโครงงาน ว่าสิ่งที่ศึกษานี้มาช่วยแก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง และมีประโยชน์อย่างไร)
2.2 บทที่ 2 เนื้อหาหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำโครงงาน
2.3 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการ ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้
2.3.1 อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา
2.3.2 แหล่งข้อมูล (ถ้าเป็นบุคคลให้ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นใคร) ถ้าเป็นกลุ่มตัวอย่างหรือเป็นการสุ่มก็ให้กำหนดวิธีการเลือกตัวอย่างมาศึกษา
2.3.3 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล (ระบุถึงวิธีการที่จะได้ข้อมูลว่าได้มาอย่างไร โดยแบ่งออกเป็นขั้นตอน ถ้าต้องใช้เครื่องมือเช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ก็ต้องบอกวิธีการสร้างและนำไปใช้)
2.4 บทที่ 4 ผลการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูล (หมายถึง ข้อที่ค้นพบ หรือการตอบจากสมมติฐานข้างต้น ผลที่ได้จากการศึกษาให้เขียนตามวัตถุประสงค์ ซึ่งควรจะเสนอเป็นตารางหรือแผนภูมิเพื่อให้ดูง่าย)
2.5 บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ (ระบุข้อค้นพบจากการศึกษาหรือระบุข้อค้นพบว่าโครงงานที่ทำนั้นสอดคล้องกับเนื้อหาทฤษฎีที่ศึกษามาอย่างไร)
- ข้อเสนอแนะ (ระบุข้อเสนอแนะจากผลการวิเคราะห์หรือข้อมูลที่ยังไม่สมบูรณ์และสิ่งที่ควรศึกษาเพิ่มเติมในครั้งต่อไป)
3. ส่วนประกอบตอนท้าย ประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือ
3.1 บรรณานุกรม คือ หนังสืออ้างอิงหรือบุคคล แหล่งที่มาของข้อมูลโดยเขียนอยู่ในรูปแบบที่ถูกต้อง
3.2 ภาคผนวก (กรณีที่มีภาพถ่าย และใส่กระบวนการทำงานต่างๆ หรือข้อมูลดำเนินงานอื่นๆ)


*******************






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสื่อสารและการพัฒนา

การประเมินโครงการ