รายงานผลการประเมินโครงการเสริมสร้างความรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะ



ผู้ศึกษา                  สถาบัน กศน.ภาคใต้ 
ปีที่ศึกษา               2558

ในการประเมินโครงการเสริมสร้างความรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการดำเนินโครงการเสริมสร้างความรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิตของโครงการเสริมสร้างความรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะโดยใช้รูปแบบการประเมินเชิงระบบ Context-Input-Process-Product-Impact : CIPPI Model  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอและครูผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้นำสถาบันศึกษาปอเนาะ นักศึกษาสถาบันศึกษาปอเนาะ ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดสตูล และ จังหวัดสงขลา (อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี)  จำนวน 5,392  คน  ผู้วิจัยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณขนาดตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการประเมินโครงการด้านบริบท เมื่อพิจารณาจากข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2558 พบว่ามีความสอดคล้องกับนโยบายเฉพาะ  และสอดคล้องกับนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2555-2557 ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ปีงบประมาณ 2558
2. ระดับความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าโครงการเสริมสร้างความรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. ระดับความเหมาะสมของกระบวนการโครงการเสริมสร้างความรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4. ระดับคุณภาพของผลผลิตโครงการเสริมสร้างความรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้รับผิดชอบโครงการ  และผู้นำสถาบันศึกษาปอเนาะโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4.1 ระดับความพึงพอใจของโครงการเสริมสร้างความรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะของผู้นำสถาบันศึกษาปอเนาะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4.2 ระดับความพึงพอใจต่อโครงการเสริมสร้างการเรียนรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะ กิจกรรมยกระดับความรู้นักศึกษาสถาบันศึกษาปอเนาะให้จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  
4.3 ระดับความพึงพอใจต่อโครงการเสริมสร้างการเรียนรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะ กิจกรรมสร้างเสริมทักษะวิชาชีพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  
4.4 ระดับความพึงพอใจต่อโครงการเสริมสร้างการเรียนรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะ กิจกรรมแหล่งเรียนรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  
4.5 ระดับความพึงพอใจต่อโครงการเสริมสร้างการเรียนรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะ กิจกรรมค่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตตามค่านิยม 12 ประการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  
5. ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่รับผิดชอบโครงการ พบว่า ควรมีการเพิ่มสื่อในการจัดการเรียนการสอนให้ทันสมัยและปัจจุบันมากที่สุด รองลงมาให้บุคลากรในสถานศึกษาได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของสถานศึกษา จัดโครงการอบรมการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตให้กับผู้บริหารปอเนาะ ให้สถาบันปอเนาะจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับอาชีพอย่างต่อเนื่อง ผู้นำศาสนาและผู้เกี่ยวข้องกับสถาบันศึกษาปอเนาะควรมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม การดำเนินงานในปอเนาะร่วมกันและกิจกรรมควรมีความหลากหลายในการดำเนินงาน
6. ข้อเสนอแนะของผู้นำสถาบันศึกษาปอเนาะส่วนใหญ่ พบว่า มีความต้องการสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อใช้ในสถาบันศึกษาปอเนาะให้มาก รองลงมาได้แก่ ควรจัดอย่างต่อเนื่อง ควรจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลายและควรให้มีการทัศนศึกษานอกสถานที่บ้าง และควรมีการอบรมครูปอเนาะก่อนจัดกิจกรรม
7. ข้อเสนอแนะของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ให้มีสื่อที่ทันสมัยและหลากหลายมากกว่านี้ เช่น หนังสือพิมพ์ วีซีดี อินเตอร์เน็ต โทรทัศน์ รองลงมาได้แก่ ควรให้มีโครงการนี้อีก และกิจกรรมต่างๆ มีความสนุกสนาน เสริมความรู้ เหมาะสม 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสื่อสารและการพัฒนา

โครงงาน

การประเมินโครงการ