การประเมินหลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคใต้


ผู้วิจัย                     ศุภาภรณ์ กาญจโนภาส, ณัฐภัสสร  แดงมณี, พัชรี ไชยโรจน์
                                รจนา วิริยะสมบัติ, จารุณี วาระหัส, พนัสยา วรรณวิไล
ปีที่ประเมิน           2558

การประเมินหลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคใต้ ด้านปัจจัยเบื้องต้น  ด้านกระบวนการ  และด้านผลผลิต 2) ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคใต้ของผู้เรียน ประชากรได้แก่ วิทยากรที่สอนในหลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุและผู้เรียนซึ่งเป็นผู้สูงอายุกลุ่มทดลองใช้หลักสูตร รวมทั้งสิ้น  34  คน  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า
                1. การประเมินหลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคใต้ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการศึกษาแยกรายละเอียดได้ดังนี้
1.1 ด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่าผลการประเมินหลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคใต้ มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.2 ด้านกระบวนการ พบว่าผลการประเมินหลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคใต้ มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.3 ด้านผลผลิต พบว่าผลการประเมินหลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคใต้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและระดับมาก  ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักสูตรของผู้เรียน สามารถแยกรายวิชาดังนี้
2.1 วิชา การดูแลสุขภาพที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ  พบว่า จำนวนชั่วโมงมีมากเกินไปและเน้นวิชาการมากไปให้ปรับลดมาเป็นการปฏิบัติให้มากกว่า เพราะเป็นวิชาที่มีความสำคัญมาก เกี่ยวกับสุขภาพซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น ให้เน้นไปที่โรคเจ็บป่วยของผู้สูงอายุและสมควรหานักส่งเสริมสุขภาพมาเป็นวิทยากร เน้น 5 อ.
2.2 วิชา นันทนาการและการใช้เวลาว่างสำหรับผู้สูงอายุ พบว่า ไม่จำเป็นต้องปรับลดชั่วโมง วิชาที่ได้ไปเรียนรู้เหมาะสมกับวัยของผู้สูงอายุ แต่ควรให้เรียนรู้เรื่อง “ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ” เพิ่ม ว่าเกี่ยวกับอะไรบ้าง และแก้ปัญหาได้อย่างไร เช่น ปัญหายาเสพติด
2.3  วิชา การพัฒนาจิตสำหรับผู้สูงอายุ พบว่า การนำเสนอสามารถดึงดูดความสนใจผู้สูงอายุได้เหมาะสม เนื้อหานำเสนอง่าย เน้นปฏิบัติให้มาก วิทยากรมีบุคลิกภาพที่ดีเหมาะสมกับวิชาที่สอน ระยะเวลาน่าจะปฏิบัติมากกว่านี้ เนื้อหาไม่ต้องมาก
2.4  วิชา การใช้ชีวิตอย่างมีความสุขสำหรับผู้สูงอายุ พบว่า สิ่งที่ได้คือเพื่อนใหม่ ได้คุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การฝึกสมาธิ การออกกำลังกาย การปฐมพยาบาล การกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ โดยรวมมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรนี้และควรมีการดำเนินการต่อเนื่อง รวมทั้งการประชุมพบปะกันอย่างน้อยเดือนละครั้งหรือปีละครั้ง
2.5  วิชา เทคโนโลยีและการสื่อสารสำหรับผู้สูงอายุ พบว่า ได้เรียนรู้เรื่องการเปิด ปิด เครื่องคอมพิวเตอร์ การพิมพ์ การใช้อินเตอร์เน็ต เป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ แต่ข้อจำกัดในเรื่องตัวของผู้สูงอายุเอง และเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอและวิทยากรเพียงคนเดียวไม่สามารถดูแลผู้เรียนได้ทั่วถึง ควรให้ผู้เรียนที่มีความรู้พื้นฐานประกบคู่และจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอและสามารถใช้งานได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสื่อสารและการพัฒนา

โครงงาน

การประเมินโครงการ