การศึกษารูปแบบการดำเนินงาน กศน.ตำบลที่มีประสิทธิภาพในภาคใต้


ผู้วิจัย                     สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคใต้  
                               (นางสาวณัฐภัสสร แดงมณีและคณะ)
ปีที่วิจัย                  2558

การศึกษารูปแบบการดำเนินงาน กศน.ตำบลที่มีประสิทธิภาพในภาคใต้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อ  1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานของ กศน.ตำบลในภาคใต้ 2) ศึกษารูปแบบการดำเนินงาน กศน.ตำบลที่มีประสิทธิภาพในภาคใต้ 3) ยืนยันรูปแบบการดำเนินงาน กศน.ตำบลที่มีประสิทธิภาพในภาคใต้  โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ศึกษาสภาพการดำเนินงานของ กศน.ตำบลในภาคใต้ ศึกษารูปแบบการดำเนินงาน กศน.ตำบลที่มีประสิทธิภาพในภาคใต้ และ ยืนยันรูปแบบการดำเนินงาน กศน.ตำบลที่มีประสิทธิภาพในภาคใต้เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ

ผลการศึกษาพบว่า
                1. สภาพการดำเนินงาน กศน.ตำบลในภาคใต้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  โดยประสานงานกับภาคีเครือข่าย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  รองลงมาได้แก่ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กลุ่มเป้าหมายในตำบลโดยจัดการเรียนการสอน จัดการศึกษาต่อเนื่องโดยจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ/หลักสูตรระยะสั้นและปฏิบัติงานตามนโยบายเร่งด่วน  
2. รูปแบบการดำเนินงาน กศน.ตำบลที่มีประสิทธิภาพในภาคใต้ ประกอบด้วย 4  องค์ประกอบหลักโดยนำการบริหารจัดการเชิงระบบ PDCA มาใช้ให้เป็นประโยชน์ ภายใต้ ปรัชญา “คิดเป็น ได้แก่   องค์ประกอบที่ 1  การบริหารจัดการ ครู กศน.ตำบลต้องปฏิบัติงานในตำบลที่รับผิดชอบ  กศน.ตำบลเป็นฐานการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต  มีการจัดกิจกรรมการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ให้บริการกับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายใน-ภายนอกสถานศึกษา มีการจัดการศึกษานอกระบบตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาบุคลากร กศน.โดยการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง สถานที่เหมาะสม เอื้อต่อการเรียนรู้ รายงานผลการดำเนินงานของ กศน.ตำบลในการจัดกิจกรรมให้ถูกต้อง ครบถ้วน พัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง มีแผนปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง สรรหาวิทยากรวิชาชีพที่มีความรู้ความสามารถตรงกับหลักสูตรที่ กศน.ตำบลจัดขึ้น ดูแล บำรุงรักษาวัสดุและครุภัณฑ์ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน จัดทำทะเบียนคุมสื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ของ กศน.ตำบล ให้บริการสถานที่ในการประชุม พบปะสังสรรค์แก่คนในชุมชนโดยตลอด มีครู ศรช. ครู กศน.ตำบล ครูประจำกลุ่ม วิทยากรวิชาชีพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นประชาสัมพันธ์งาน กศน.ผ่านสื่อต่าง ๆ ให้บริการข้อมูล ข่าวสารของชุมชนที่ทันสมัย สถานที่ตั้ง กศน.ตำบลเป็นเอกเทศนำสื่อวัสดุที่ทันสมัยและหลากหลายมาใช้ในการจัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรมมีสารสนเทศเป็นปัจจุบัน สื่อวัสดุ ครุภัณฑ์มีเพียงพอกับความต้องการและพร้อมต่อการใช้งาน องค์ประกอบที่  2  การจัดการศึกษานอกระบบ กศน.ตำบลเป็นฐานการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต  จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเรียนรู้ จัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยั่งยืน จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพให้กลุ่มเป้าหมายมีศักยภาพเพิ่มขึ้น จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่งเสริมการรู้หนังสือให้กลุ่มเป้าหมายอ่านออกเขียนได้ ให้คำแนะนำปรึกษาผู้รับบริการอย่างสม่ำเสมอ จัดทำฐานข้อมูลผู้เรียนเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ส่งเสริมกิจกรรมขององค์กรนักศึกษาภายใน กศน.ตำบลอย่างต่อเนื่อง ช่วยแก้ไขปัญหาผู้เรียนทุกคนตลอดหลักสูตร จัดส่งผู้เรียนไปเรียนรู้ตามแผนที่วางไว้ จัดทำวิจัยชั้นเรียนใน กศน.ตำบล ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้เข้มแข็ง องค์ประกอบที่  3 การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย กศน.ตำบลเป็นฐานการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต  มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ กศน.ตำบลให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการ กศน.ตำบลติดตามดูแลการดำเนินงานบ้านหนังสือชุมชน กศน.ตำบลมีการส่งเสริม/สนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายใช้แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกชุมชน พัฒนา กศน.ตำบลให้เหมาะสม มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม เปิด กศน.ตำบลเพื่อให้มีการบริการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในชุมชนเป็นประจำ ให้บริการสื่อ ETV อย่างหลากหลาย จัดกิจกรรมใน กศน.ตำบลที่หลากหลายและต่อเนื่อง จัดการศึกษาตามอัธยาศัยตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จัดมุมห้องสมุดใน กศน.ตำบลเพื่อให้บริการกลุ่มเป้าหมายในชุมชน จัดทำทำเนียบภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ในตำบล จัดตั้งชมรม สคบ. ใน กศน.ตำบลเพื่อให้ข้อมูลที่ทันสมัย   องค์ประกอบที่ 4  ภาคีเครือข่ายและกิจการพิเศษ มีการประสานงานกับภาคีเครือข่าย กศน.ตำบลเป็นฐานการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีเครือข่ายในการจัดกิจกรรม กศน.ตำบลเป็นศูนย์ให้คำปรึกษา แนะนำช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย สนับสนุนการจัดกิจกรรมจากหน่วยงานภาครัฐอื่นอย่างสม่ำเสมอ สร้างเครือข่ายอาสาสมัคร กศน. ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม กศน.ตำบล สร้างเครือข่ายอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม กศน.ตำบล สนับสนุนการจัดกิจกรรมของชุมชนทางด้านสังคม วัฒนธรรมประเพณีอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมจัดกิจกรรม กศน.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสื่อสารและการพัฒนา

โครงงาน

การประเมินโครงการ