การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


ผู้วิจัย       ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โด
                 นางสาวณัฐภัสสร แดงมณี, นางสาวมุทิตา นันทจินดา, นางภารณี ก้านเหลือง, นางสาวดนุลดา แสนคำ 
ที่ปรึกษา  ดร.วิมล ชาญชนบท, ดร. ปรีชา จันทรมณี ,นายเรืองฤทธิ์ ชมพูผุดผ่อง, นางโกศล หลักเมือง,นางศรีสง่า โภคสมบัติ
ปีที่ศึกษา   2557

ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อ  1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน และ 3) ประเมินยืนยันรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน ขั้นตอนการวิจัยจะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประชากรได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพานและตัวแทนชุมชนในอำเภอบางสะพาน รวมทั้งสิ้น  596  คน  ผู้วิจัยกำหนดขนาดโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซี่ และมอร์แกน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 258 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นได้สังเคราะห์เอกสาร ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการกำหนดขอบข่ายเนื้อหาและนำผลการวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 1 มาเป็นข้อมูลพื้นฐานและดำเนินการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและคณะกรรมการสถานศึกษา รวม 17 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้เป็นสถิติเชิงพรรณา ถอดความออกมาเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และขั้นตอนที่ 3 การประเมินยืนยันรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการตรวจสอบยืนยันรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คนซึ่งมีคุณสมบัติตามที่ผู้วิจัยได้กำหนด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินโครงร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า
                1. สภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ผลการศึกษาแยกรายละเอียดได้ดังนี้
1.1 สภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย  โดย ด้านการจัดการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการนิเทศการสอน ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน ส่วนด้านการวัดผลและประเมินผลมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
1.2 แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้านการจัดการเรียนการสอน ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าครูผู้สอนควรได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าครูควรนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน ด้านการนิเทศการสอน ส่วนใหญ่มีความเห็นว่านำผลการนิเทศมาปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดผลและประเมินผล ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูทำวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ได้รูปแบบการสอนที่ชื่อว่า  TUSE Model ซึ่งมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน (Teaching and Learning) การใช้สื่อการเรียนการสอน (Use of Teaching Media)  การนิเทศการสอน (Supervision) และการวัดผลและประเมินผล (Evaluation)

3. ผลการประเมินยืนยันรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของ ครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่ารูปแบบมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดย ด้านความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ และด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมากเท่ากัน ตามลำดับ  แสดงว่าสามารถนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้อย่างเหมาะสม

ความคิดเห็น

คิดว่าบทคัดย่องานวิจัยเรื่องนี้คงเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจ หากประสงค์ต้องการดูงานฉบับจริงสามารถติดต่อผ่านทางบล็อคนี้ได้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสื่อสารและการพัฒนา

โครงงาน

การประเมินโครงการ