ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ภาคภาษาอังกฤษ (English Program) ในภาคใต้

ผู้ศึกษา                  สถาบัน กศน.ภาคใต้
สังกัด                     สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
ที่ปรึกษา                ดร. ปรีชา จันทรมณี
ปีที่ศึกษา               2557

ในการศึกษาสภาพปัญหาการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ภาคภาษาอังกฤษ (English Program)  ในภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ภาคภาษาอังกฤษ (English Program) ในภาคใต้ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูผู้สอนและนักศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ภาคภาษาอังกฤษ (English Program) ปีการศึกษา 2557ในภาคใต้ จำนวน 155 คน  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครู ผู้สอน และนักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ (English Program) ปีการศึกษา 2557 ในภาคใต้ จำนวน 110 คน  ผู้วิจัยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณขนาดตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน หลังจากนั้นจึงสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยการจับสลาก ตามสัดส่วนของประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ภาคภาษาอังกฤษ (English Program) ในภาคใต้ก่อนการดำเนินงาน(เตรียมการ) ส่วนใหญ่จะเตรียมการเกี่ยวกับแบบเรียน สถานที่การจัดการเรียนการสอน สนามสอบ สื่อเทคโนโลยี สื่อ การประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้เรียน/ผู้สอนชาวต่างชาติ และ การทดสอบความรู้พื้นฐานของผู้สมัครเรียน การสอบข้อเขียน สัมภาษณ์ ส่วนสภาพระหว่างการดำเนินงานส่วนใหญ่จะจัดหาคู่มือ แบบเรียน สื่อและติดตาม นิเทศ ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง จัดการเรียนการสอนโดยเน้นการปฏิบัติจริง และให้คำแนะนำ ครูผู้สอน ด้าน หลักสูตร เอกสาร และสื่อ การทำกิจกรรมร่วมกัน ฝึกโต้ตอบ การสนทนา ทบทวนบทเรียนร่วมกันทำใบงานแต่ละวิชา ตามลำดับ

2. ระดับปัญหาการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ภาคภาษาอังกฤษ (English Program) ในภาคใต้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการบริหารมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านผู้เรียน ส่วนด้านครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสื่อสารและการพัฒนา

โครงงาน

การประเมินโครงการ