ปัจจัยที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่านของนักศึกษา กศน. ระดับมัธยมศึกษาในภาคใต้


ผู้ศึกษา                  สถาบัน กศน.ภาคใต้
สังกัด                     สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
ที่ปรึกษา                ดร.ปรีดา  เบ็ญคาร อาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
    ดร. ปรีชา จันทรมณี ผู้อำนวยการสถาบัน กศน. ภาคตะวันออก
ปีที่ศึกษา               2556 - 2557

                                ในการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่านของนักศึกษา กศน. ระดับมัธยมศึกษาในภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่านของนักศึกษา กศน. ระดับมัธยมศึกษา ในภาคใต้  ประชากร คือ นักศึกษา กศน. ระดับมัธยมศึกษา ในภาคใต้ ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1/2556  จำนวน 123,647  คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา กศน. ระดับมัธยมศึกษาในภาคใต้ ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1/2556  จำนวน 400 คน คณะผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane  หลังจากนั้นจึงสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยการจับสลาก ตามสัดส่วนของประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความสัมพันธ์แบบเพียร์สันและพหุคูณถดถอย

ผลการศึกษาพบว่า
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนิสัยรักการอ่านของนักศึกษา กศน. ระดับมัธยมศึกษาในภาคใต้  คือ การสนับสนุนการอ่านของครู สภาพแวดล้อมการอ่านในสถานที่พบกลุ่ม และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001   สามารถเขียนสมการพยากรณ์นิสัยรักการอ่านทั้งในรูปของคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน เรียงตามลำดับดังนี้
สมการพยากรณ์คะแนนดิบ
นิสัยรักการอ่าน    =  3.058 – 0.230(สภาพแวดล้อมการอ่านในสถานที่พบกลุ่ม) + 0.225 (การสนับสนุนการอ่านของครู)  -  0.146(แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์)
สมการพยากรณ์คะแนนมาตรฐาน

นิสัยรักการอ่าน    =  -0.289(สภาพแวดล้อมการอ่านในสถานที่พบกลุ่ม) + 0.295(การสนับสนุนการอ่านของครู)  -  0.162(แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสื่อสารและการพัฒนา

โครงงาน

การประเมินโครงการ