รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาพาสันติสุข

ผู้ประเมิน                  สถาบัน กศน.ภาคใต้
ปีที่ประเมิน                2558

การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาพาสันติสุขมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ประเมินผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาพาสันติสุข  2)ประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาพาสันติสุข ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตโดยการผสมผสานรูปแบบการประเมินตามวัตถุประสงค์ของไทเลอร์ (Tyler’s Model of Evaluation) และรูปแบบการประเมินเชิงระบบ Context-Input-Process-Product-Impact : CIPPI Model  ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู กศน. ผู้เรียน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมจำนวน 17,573 คน  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู กศน. จำนวน 366 คน ผู้เรียนจำนวน 1,164 คน รวมจำนวน 1,530 คน  ผู้วิจัยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณขนาดตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า
               1. ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาพาสันติสุข พบว่า ผู้เรียนใช้ภาษาไทย ภาษามลายูถิ่นในการสื่อสารได้ คิดเป็นร้อยละ 80.92 บรรลุตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินโครงการด้านบริบทของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาพาสันติสุข พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2558 นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ปีงบประมาณ 2558
3. ระดับความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาพาสันติสุข โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก
4. ระดับความเหมาะสมของกระบวนการของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาพาสันติสุข โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก
5. ระดับคุณภาพของผลผลิตของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาพาสันติสุข โดยภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมาก และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาพาสันติสุข โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก
6. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่รับผิดชอบโครงการส่วนใหญ่ พบว่า 1) ควรสนับสนุนงบประมาณและจัดโครงการอย่างต่อเนื่อง 2) ควรส่งเสริมภาษาอื่นๆ นอกเหนือจากภาษามลายูถิ่นและภาษาไทยเนื่องจากจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ต้องมีการจัดให้ความรู้ในภาษาอื่น ๆ ที่จำเป็นจะต้องใช้ด้วย  3) ควรส่งเสริมให้มีการทัศนศึกษาดูงานสำหรับผู้เรียนภาษามลายูถิ่น 4)ควรนำผู้เรียนไว้ไปทัศนศึกษาพื้นที่ชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อนำความรู้ไปทดลองใช้และสื่อสารกับคนต่างชาติที่อยู่ชายแดนไทย เช่นมาเลเซีย 5) ควรจัดทำสื่อที่หลากหลายและน่าสนใจ  6) โครงการภาษามลายูถิ่นในบางพื้นที่ ไม่เป็นที่ต้องการของกลุ่มเป้าหมายเนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน 7)ควรจัดสรรงบประมาณเพิ่มเพื่อการบริหารจัดการและการประชาสัมพันธ์และการศึกษาดูงานและ 8)ควรเพิ่มวัสดุที่ทันสมัยในการจัดการเรียนการสอน เช่น คอมพิวเตอร์ ตามลำดับ

7. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เรียนส่วนใหญ่ พบว่า 1) เป็นโครงการที่ดี ได้รู้การพูด การแนะนำตัว และศึกษาภาษาท้องถิ่นของคน 3 จังหวัดภาคใต้ 2) ควรมีการฝึกหัดพูด-ฟัง เป็นลักษณะบทสนทนามากๆ บ่อยๆ โดยเฉพาะประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เน้นนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันน่าจะเพิ่มเวลาให้มากขึ้น และมีห้วงเวลามาทบทวนหรือทดสอบประเมิน 3) ควรมีระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรมมากกว่าเดิม และ 4) ควรให้วิทยากรมีส่วนร่วมในการจัดทำสื่อโดยตรง ตามลำดับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสื่อสารและการพัฒนา

โครงงาน

การประเมินโครงการ