โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรธรรมชาติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน


ผู้ประเมิน                  สถาบัน กศน.ภาคใต้
ปีที่ประเมิน                2558

การประเมินโครงการโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรธรรมชาติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรธรรมชาติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 2) ประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรธรรมชาติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตโดยการผสมผสานรูปแบบการประเมินตามวัตถุประสงค์ของไทเลอร์ (Tyler’s Model of Evaluation) และรูปแบบการประเมินเชิงระบบ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และประชาชน รวมจำนวน 3,874 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน  90 คน ประชาชน จำนวน  1,595  คน รวมจำนวน 1,685  คน ผู้วิจัยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณขนาดตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรธรรมชาติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนพบว่า การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง1 อำเภอ 1 แหล่งเรียนรู้ ที่สามารถเป็นกลุ่มอาชีพต้นแบบ การขับเคลื่อนและบริหารจัดการความรู้การประกอบอาชีพตามวิถีชีวิตของชุมชนสามารถดำเนินการได้ 72 แห่ง และกลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจแนวคิดและสามารถนำไปใช้ในการเกษตรธรรมชาติที่ถูกต้อง สามารถมองเห็นช่องทางการประกอบอาชีพที่สามารถรักษาสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 82.89
2. ผลการประเมินโครงการด้านบริบทของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรธรรมชาติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2558 นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ปีงบประมาณ 2558
3. ผลการประเมินโดยรวมของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรธรรมชาติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านผลผลิต และด้านปัจจัยนำเข้า ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า
3.1 ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า  มีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยสถานที่จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรธรรมชาติเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด
3.2 ด้านกระบวนการ พบว่า มีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมีการสำรวจความพร้อมของพื้นที่ในการจัดตั้งศูนย์ฯในกิจกรรมจัดตั้งและพัฒนาศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรธรรมชาติมีค่าเฉลี่ยสูงสุด
3.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า
3.3.1 ระดับคุณภาพของผลผลิตโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรธรรมชาติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก โดยผู้ร่วมโครงการสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันมีค่าเฉลี่ยสูงสุด
3.3.2 ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรธรรมชาติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในการจัดโครงการครั้งนี้และกิจกรรมนี้ทำให้เกิดสัมพันธภาพอันดีงามระหว่างผู้เข้าอบรมและวิทยากรมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน
4. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่รับผิดชอบโครงการส่วนใหญ่ พบว่า ควรจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม รองลงมา ได้แก่ ควรมีการติดตามการนำไปใช้ของผู้ร่วมโครงการ และครูแต่ละตำบลควรส่งกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการเน้นผู้ที่ทำเกษตรอยู่แล้วเพราะจะทำให้การร่วมกิจกรรมอย่างมีความสุข ตามลำดับ

5. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของเยาวชน  พบว่า เป็นโครงการที่ดีและควรจัดโครงการนี้อีกอย่างต่อเนื่อง รองลงมาได้แก่ ควรมีการดูงานนอกสถานที่เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มเวลาแต่ละฐานการเรียนรู้ของกิจกรรม ส่งเสริมเรียนรู้เกษตรธรรมชาติในทางปฏิบัติและทฤษฎีให้เหมาะสมยั่งยืนเพื่อผู้เรียนจะได้เอาไปประกอบอาชีพ จัดอบรมบ่อยๆ และเพิ่มกิจกรรมให้มากกว่านี้ มีศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติทุกตำบลควรเพิ่มงบประมาณและจัดหาวัสดุให้เพียงพอ และมีการจัดกิจกรรมในภาพรวมอำเภอให้ชัดเจนและเห็นเป็นรูปธรรม ตามลำดับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสื่อสารและการพัฒนา

โครงงาน

การประเมินโครงการ