รายงานการประเมินโครงการกีฬาสายสัมพันธ์ เครือข่าย เยาวชนนอกโรงเรียนเสริมสร้างสันติสุข

ผู้ประเมิน                  สถาบัน กศน.ภาคใต้
ปีที่ประเมิน                2558

การประเมินโครงการกีฬาสายสัมพันธ์ เครือข่าย เยาวชนนอกโรงเรียนเสริมสร้างสันติสุขมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการกีฬาสายสัมพันธ์ เครือข่าย เยาวชนนอกโรงเรียนเสริมสร้างสันติสุข  2) ประเมินการดำเนินโครงการกีฬาสายสัมพันธ์ เครือข่าย เยาวชนนอกโรงเรียนเสริมสร้างสันติสุขในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิตโดยการผสมผสานรูปแบบการประเมินตามวัตถุประสงค์ของไทเลอร์ (Tyler’s Model of Evaluation) และรูปแบบการประเมินเชิงระบบ Context-Input-Process-Product-Impact : CIPPI Model  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบโครงการ นักกีฬา นักศึกษา ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดสตูล และ จังหวัดสงขลา (เฉพาะอำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี)  รวมจำนวน 1,309 คน  ผู้วิจัยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณขนาดตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการสายสัมพันธ์ เครือข่าย เยาวชนนอกโรงเรียนเสริมสร้างสันติสุข พบว่า เยาวชนมีความสัมพันธ์เครือข่ายเยาวชนนอกโรงเรียน สามารถประสานงานและร่วมกันเสริมสร้างสันติสุขในระดับอำเภอ ระดับจังหวัดและระดับกลุ่มจังหวัดให้มีความสัมพันธ์ที่ดีโดยใช้กีฬาเป็นสื่อ คิดเป็นร้อยละ 92.22 และเยาวชนนอกระบบโรงเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้ร่วมกัน ร่วมถึงใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ คิดเป็นร้อยละ 98.13 บรรลุตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินโครงการด้านบริบท พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2558 นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ปีงบประมาณ 2558
3. ระดับความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าโครงการกีฬาสายสัมพันธ์ เครือข่าย เยาวชนนอกโรงเรียนเสริมสร้างสันติสุขตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการและนักกีฬาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4. ระดับความเหมาะสมของกระบวนการโครงการกีฬาสายสัมพันธ์ เครือข่าย เยาวชนนอกโรงเรียนเสริมสร้างสันติสุขตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการและนักกีฬา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
5. ระดับคุณภาพของผลผลิตโครงการกีฬาสายสัมพันธ์ เครือข่าย เยาวชนนอกโรงเรียนเสริมสร้างสันติสุขตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา  ครูผู้รับผิดชอบโครงการ  และนักกีฬาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และนักศึกษามีความพึงพอใจของโครงการกีฬาสายสัมพันธ์ เครือข่าย เยาวชนนอกโรงเรียนเสริมสร้างสันติสุข โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

6. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่รับผิดชอบโครงการส่วนใหญ่ พบว่า กิจกรรมกีฬาเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์สำหรับนักศึกษา กศน.และเป็นการประชาสัมพันธ์ งาน กศน. รองลงมาได้แก่ ควรมีการส่งเสริมให้จัดการแข่งขันกีฬาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพิ่มงบประมาณในการดำเนินการเฉพาะโครงการ การจัดแข่งขันควรให้ความสำคัญในระดับพื้นที่  หมู่บ้าน  ตำบลให้มากกว่าที่เป็นอยู่ และ ควรเพิ่มระยะเวลาในการฝึกซ้อมนักกีฬาก่อนเพิ่มศักยภาพเพิ่มขึ้น ตามลำดับ ส่วนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนักศึกษาส่วนใหญ่ พบว่า การแข่งขันกีฬาเป็นสิ่งที่ดีมาก ช่วยให้นักศึกษา กศน.มีความสามัคคี  มีน้ำใจรู้จักคำว่าแพ้ ชนะ  ทำให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข รองลงมาได้แก่  พิธีเปิดประทับใจมากและควรมีการจัดกิจกรรมกีฬาต่อไปทุกปี   ควรส่งเสริมการแข่งกีฬาระดับตำบลให้มากขึ้น และควรมีการจัดกีฬาประเภทกีฬาพื้นบ้าน ตามลำดับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสื่อสารและการพัฒนา

โครงงาน

การประเมินโครงการ