รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชนคนรักษ์ถิ่น

ผู้ประเมิน                  สถาบัน กศน.ภาคใต้
ปีที่ประเมิน                2558

การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชนคนรักษ์ถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชนคนรักษ์ถิ่น 2) ประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชนคนรักษ์ถิ่นด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิตโดยการผสมผสานรูปแบบการประเมินตามวัตถุประสงค์ของไทเลอร์ (Tyler’s Model of Evaluation) และรูปแบบการประเมินเชิงระบบ Context-Input-Process-Product-Impact : CIPPI Model  ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู กศน. เยาวชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมจำนวน 2,420 คน  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู กศน. จำนวน 149 คน เยาวชน จำนวน 1,404 คน รวมจำนวน 1,553 คน  ผู้วิจัยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณขนาดตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชนคนรักษ์ถิ่นพบว่า เยาวชนมีค่านิยมความรักชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ รักแผ่นดินและรู้คุณค่าของแผ่นดิน ร่วมกันในสังคมหลากหลายทางวัฒนธรรมและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน สังคม และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์คิดเป็นร้อยละ 91.68
2. ผลการประเมินโครงการด้านบริบทของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาพาสันติสุข พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2558 นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ปีงบประมาณ 2558
3. ผลการประเมินโดยรวมของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชนคนรักษ์ถิ่นตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู กศน. พบว่ามีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยด้านผลผลิตมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านกระบวนการ และด้านปัจจัยนำเข้า ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า
3.1 ระดับความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชนคนรักษ์ถิ่นโดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก
3.2 ระดับความเหมาะสมของกระบวนการของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชนคนรักษ์ถิ่นโดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก
3.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า
1) ระดับคุณภาพของของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชนคนรักษ์ถิ่นโดยภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมาก
2) ระดับการปฏิบัติตามหลักค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการของเยาวชนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3) ระดับความพึงพอใจของเยาวชนต่อโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชนคนรักษ์ถิ่น ในกิจกรรม “ค่ายเยาวชนใฝ่รู้ค่านิยม” โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 
4. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่รับผิดชอบโครงการส่วนใหญ่ พบว่า 1) เป็นโครงการที่ดีและควรที่จะดำเนินการต่อ 2) ควรเพิ่มงบประมาณในการดำเนินโครงการ และ 3) จัดกิจกรรมที่ให้เยาวชนได้มีค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการมากขึ้น

5. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของเยาวชน  พบว่า 1) ควรจัดโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง 2)ควรจัดกิจกรรมบ่อยๆ โดยจัดกิจกรรมเดือนละ 1 ครั้ง เพราะเยาวชนไปพบปะบ่อยๆ สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ 3)  ควรไปศึกษาดูงานที่ต่างจังหวัดบ้าง คิดเป็นร้อยละ 26.66 และเพิ่มฐานการเรียนรู้ใหม่ ๆ ตามลำดับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสื่อสารและการพัฒนา

โครงงาน

การประเมินโครงการ