การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal)


ความหมาย วัตถุประสงค์ และความสำคัญของการประเมินผลการปฏิบัติงาน
ทำงานตรงกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย การแสดงพฤติกรรม แสดงผลลัพธ์ ดำเนินงานส่งมอบตามที่องค์การต้องการมากน้อยเพียงใด ต้องเพิ่มพูน เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง พัฒนาอย่างไร  เอาข้อมูลมาเปรียบเทียบว่าคนไหนทำงานดีที่สุด เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจขึ้นเงินเดือน จ่ายค่าตอบแทน โบนัสให้ใครมากกว่ากัน
วัตถุประสงค์การประเมินผลการปฏิบัติงาน
1. ด้านการพัฒนา
1.1 เป็นข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อให้บุคลากรทราบว่าที่ผ่านการปฏิบัติงานของตนเองเป็นอย่างไร
1.2 ระบุจุดแข็ง จุดอ่อน จุดที่ควรปรับปรุงพัฒนาสำหรับบุคลากรแต่ละคน
1.3 สร้างแรงจูงใจและได้รางวัลตอบแทนแก่บุคลากรที่มีผลงานได้มาตรฐานหรือสูงกว่ามาตรฐาน
1.4 ช่วยในการตัดสินใจในการสนับสนุนบุคลารกที่มีผลงานได้มาตรฐานหรือสูงกว่าให้มีความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ
1.5 เป็นข้อมูลที่ช่วยระบุความต้องการฝึกอบรมและพัฒนา ช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมและพัฒนาดังกล่าวให้สอดคล้องกับความต้องการและยุทธศาสตร์ของงองค์กร
1.6 เป็นการสื่อสารให้บุคลากรได้ทราบถึงความรู้ความสามารถของตนเองในสายตาของผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ ภายในองค์กร
2. ด้านการบริหาร
2.1 เป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรของหน่วยงานอย่างเป็นธรรม กล่าวคือ เป็นกลไกมาตรฐานให้บุคลากรยึดถือและปฏิบัติอย่างเป็นระบบร่วมกันอย่างเท่าเทียม
2.2 รักษาความเป็นธรรมภายใน ทั้งในด้านการบริหารเงินเดือน ค่าตอบแทน และการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านต่าง ๆ ให้เป็นมาตรฐานเท่าเทียมกัน
2.3 ช่วยกลั่นกรองบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และคัดกรองบุคลากรที่มีผลงานต่ำกว่ามาตรฐานให้ออกจากองค์กร
2.4 เป็นการสื่อสารให้บุคลากรได้ทราบถึงความรู้ ความสามารถของตนเองในสายตาของผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ ภายในองค์กร

กระบวนการและวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน
1. กำหนดมาตรฐานหรือเป้าหมายในการปฏิบัติงาน ทั้งในเป้าหมายขององค์กร หน่วยงาน กำหนดเป้าหมายและมอบแนวทางการปฏิบัติงานของแต่ละคน
2. ตกลงเป้าหมายการปฏิบัติงานร่วมกัน เกี่ยวกับ เป้าหมาย/มาตรฐานในการทำงาน/ตัวชี้วัด
3. ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงาน
4. เปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานจริงกับมาตรฐานการปฏิบัติงานหรือเป้าหมาย
5. ชี้แจงผลการประเมินต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

หลักการที่ควรคำนึงในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
1. การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นกระบวนการประเมินค่าผลการปฏิบัติงานไม่ใช่ประเมินค่าบุคคล  ดูว่าผลงานที่ออกมาดีหรือไม่ เน้นที่ผลงาน ไม่ใช่ตัวบุคคล
2. การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างาน
3. การประเมินผลการปฏิบัติงานจะต้องมีความแม่นยำในการประเมิน ต้องเก็บข้อมูลสม่ำเสมอ เป็นธรรม
4. การประเมินผลการปฏิบัติงานต้องมีเครื่องมือสนับสนุนในกระบวนการประเมิน เช่น เครื่องมือ ข้อมูล ระบบ อุปกรณ์ ดูจากคำบรรยายลักษณะงาน มาตรฐานของการปฏิบัติงาน แบบฟอร์มการประเมินผลการปฏิบัติงาน ระเบียบปฏิบัติขององค์กรว่าด้วยการประเมินผลการปฏิบัติงาน
5. การประเมินผลการปฏิบัติงานจะต้องมีการชี้แจงผลการประเมินให้ผู้ปฏิบัติงานทราบ


ปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
1. ความโน้มเอียงที่เกิดจากผู้ประเมินใช้ความรู้สึกของตนต่อคุณลักษณะหรือพฤติกรรมบางประการมาเป็นเครื่องตัดสินผลการประเมิน
2. ความโน้มเอียงที่เกิดจากการโอนอ่อนผ่อนผันตามลักษณะของผู้ประเมิน
3. ความโน้มเอียงที่เกิดจากการประเมินผลในระดับกลาง ๆ ไม่สูง ไม่ต่ำ ทำให้ไม่สะท้อนความเป็นจริง
4. ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ประเมินพิจารณาเหตุการณ์หรือพฤติกรรมของผู้ถูกประเมินในช่วงเวลาสั้น ๆ ช่วงหนึ่ง ผู้ประเมินใส่ใจกับข้อผิดพลาดในช่วงสั้นๆ มากเกิดไป
5. ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ประเมินนำตนเองเข้าเปรียบเทียบกับผู้ถูกประเมิน
6. ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากความเชื่อในลักษณะร่วมระหว่างคุณลักษณะเฉพาะบางประการของผู้ถูกประเมิน หรือเรียกว่าคุณลักษณะเฉพาะเจาะจง (Stereotype)
7. ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ประเมินใช้ความรู้สึกส่วนตัว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสื่อสารและการพัฒนา

โครงงาน

การประเมินโครงการ